วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

FinalDetail1

ฝ่ายห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Computer Laboratory)

ห้องปฏิบัติการ (เรียกสั้นๆว่า ห้องแล็บ) คือสถานที่ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ถูกควบคุม

และเป็นที่สำหรับการวิจัย การทดลอง และการวัดทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิค

ห้องปฏิบัติการซึ่งใช้สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นมีหลายแบบ

ด้วยความที่แต่ละภาควิชาของวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นั้นมีความต้องการเฉพาะที่ต่างกัน

ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์อาจมีเครื่องเร่งอนุภาค หรือห้องสุญญากาศ ส่วนห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมโลห

ะการอาจมีเครื่องมือในการหล่อหรือการกลั่นเหล็ก

หรือในการทดสอบความแข็งแรงของเหล็กเหล่านั้น นักเคมีหรือนักชีววิทยาอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบเปียก

ส่วนห้องปฏิบัติการของนักจิตวิทยาอาจเป็นห้องซึ่งมีกระจกด้านเดียวติดอยู่รวมไปถึงมีกล้องซ่อนไว้เพื่อเฝ้า

ดูพฤติกรรม บางห้องปฏิบัติการ เช่น ห้องที่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ใช้ อาจมีคอมพิวเตอร์

(บางครั้งอาจเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์)

เพื่อใช้สำหรับการจำลองหรือการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งมาจากที่อื่น นักวิทยาศาสตร์ในภาควิชาอื่นอาจใช้ห้องป

ฏิบัติการแบบอื่น วิศวกรใช้ห้องปฏิบัติการในการออกแบบ สร้าง หรือทดสอบเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่างๆ

ฝ่ายห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่และรับผิดชอบในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ

การบริการ จัดหา ติดตั้ง และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

เพื่อการเรียนการสอนและจัดการฝึกอบรมความรู้ทางคอมพิวเตอร์รวมถึงปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ศูนย์คอ

มพิวเตอร์มอบหมาย

ปัจจุบันฝ่ายห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์มีหน้าที่หลักดูแลห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

เพื่อการเรียนการสอน ที่ตั้งอยู่ ณ อาคารเรียนรวม 1 และอาคารเรียนรวม 2

โดยแบ่งออกเป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ขนาด 61 เครื่อง (ผู้สอน 1 เครื่อง,นักศึกษา 60 เครื่อง,

สำรองใช้งาน 5 เครื่อง) จำนวน 8 ห้อง และห้องบริการคอมพิวเตอร์ ณ อาคารเรียนรวม 1 และ 2

ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการ รวมทั้งสิ้น 55 เครื่อง และเครื่องพิมพ์ จำนวน 2 เครื่อง

และเครื่องสแกนเนอร์ จำนวน 4 เครื่อง

ฝ่ายห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เปิดให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 20.00 น.

โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำ ทางด้านเทคนิค ตลอดจนแก้ปัญหาการใช้งานทั้งทางด้าน

ซอฟต์แวร์ (Software) และ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ตลอดระยะเวลาให้บริการ

ฝ่ายห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จะก้าวไปภายใต้การนำของศูนย์คอมพิวเตอร์

เพื่อเป็นหน่วยงานด้านบริการที่มีประสิทธิภาพ มีความสำนึก ในบทบาทและหน้าที่

โดยจะยึดมั่นในปณิธาน วิสัยทัศน์ของศูนย์คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์

บุคลากร หน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกของมหาวิทยาลัย อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้

บรรลุถึงจุดมุ่งหมายในการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพให้แก่สังคม

และร่วมกันพัฒนาองค์กรให้ก้าวขึ้นสู่มหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของภูมิภาคต่อไป

ความปลอดภัย

สภาพภายในห้องปฏิบัติการบางแห่งนั้นไม่ได้อันตรายไปกว่าห้องอื่นๆ

ทว่าในห้องแล็บบางที่นั้นอาจมีอันตรายอยู่

โดยอันตรายในห้องปฏิบัติการนั้นมีหลายแบบขึ้นอยู่กับสิ่งที่ถูกศึกษาในห้องแล็บ

เหล่านั้นอาจรวมไปถึงพิษจุลชีพก่อโรควัตถุไวไฟสารที่ระเบิดได้หรือวัสดุการสลายให้กัมมันตรังสี เครื่องจั

กร อุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก เลเซอร์ สนามแม่เหล็กแรงสูง

หรือ ไฟฟ้าแรงสูง ในห้องปฏิบัติการซึ่งอาจมีอันตราย การระมัดระวังเป็นสิ่งสำคัญ

กฎในห้องปฏิบัติการนั้นถูกกำหนดขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง

และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลถูกใช้เพื่อปกป้องผู้ใช้ห้องปฏิบัติการจากการบาดเจ็บหรือเพื่อช่วยขณะเกิดเห

ตุการณ์ฉุกเฉิน

สำนักงานบริหารงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย(OSHA)

ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเห็นถึงลักษณะพิเศษของการทำงานในห้องปฏิบัติการได้สร้างมาตรฐานสำหรับค

วามเสี่ยงต่อสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการ โดยปกติแล้วมาตรฐานนี้ถูกเรีกยวา

"มาตราฐานห้องปฏิบัติการ" ภายใต้มาตราฐานนี้ ห้องปฏิบัติการต้องสร้าง แผนสุขอนามัยสารเคมี (CHP)

ซึ่งจัดการกับอันตรายเฉพาะจุดและวิธีควบคุมอันตรายเหล่านั้น

การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในห้องปฏิบัติการ

สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงที่สุดคือการบริหารพื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดความปลอดภัยโดยมีพื้นที่พอเพียงสำหรับปฏิบัติงาน

ต้องคำนึงถึงการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน การกำหนดพื้นที่ใน

ห้องปฏิบัติการต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น

1. ลักษณะและขอบข่ายงานที่ปฏิบัติ ต้องพิจารณาว่างานที่ทำอยู่ในห้องปฏิบัติการนั้นเป็นงานที่

เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เช่น เป็นการทดลองเกี่ยวกับพืช การทดลองเกี่ยวกับสัตว์ การทดลอง เกี่ยวกับเชื้อจุลชีพ

การทดลองที่ต้องสัมผัสกับสิ่งส่งตรวจ เป็นต้น เพื่อที่จะได้จัดสรรและ

ออกแบบพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับปฏิบัติงาน

2. อุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องมือนับเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ

การจัดวางเครื่องมือให้เหมาะสมกับพื้นที่ต้องคำนึงถึง ความจำเป็นและความถี่ในการใช้งาน

ขนาดของเครื่องมือ ความสะดวกในการขนย้ายหรือทำความสะอาด

3. จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ควรจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสมและพอเพียงต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยต้องแบ่งพื้นที่

ของเจ้าหน้าที่ที่ทำการทดลองให้มากกว่าพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านธุรการและเอกสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น